วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

ดงคสิริ

จะมีสักกี่คนที่จะเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการบรรลุธรรม กับ 6ปีที่ทำให้รู้ว่าไม่ใช่ ๐ เขาสูงแค่ไหนแต่ถ้ายังไม่บรรลุธรรม กิเลสก็ยังตามไปถึง
ดงคสิริ
สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของเจ้าชายสิทธัตถะ
ก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ตำบลพุทธคยา จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
(ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในสมัยพุทธกาล)
หลังจากทรงผนวชแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุฌาณชั้นที่ ๘) ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้
จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ในปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เรียกว่า ดงคสิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยาโดยขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา ๖ ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า “เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดี จึงจะได้เสียงที่ไพเราะ” ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณ ๓ สายถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน พิณสายที่สองหย่อนเกินไป ดีดไม่ดัง พิณสายที่สามไม่หย่อนไม่ตึงนัก ดีดดัง ไพเราะ จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่าเป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้
ถ้ำดงคสิริ เป็นถ้ำหินแข็งมีขนาดประมาณ ๙ ตารางเมตร (คงเป็นขนาดเดียวกันกับสมัยที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเพียร) ต้องเดินขึ้นเชิงเขาดงคสิริขึ้นไป มีวัดธิเบตตั้งอยู่ใกล้ถ้ำ เห็นธงหลากสีของชาวธิเบตผูกติดกับเชือกเป็นสายยาวระโยงระยาง ทั้งยังเป็นหน้าผาชันตัดตรงลงมา มีช่องประตูพอให้คนเข้าไปได้ เพราะเหตุที่ถ้ำนี้เป็นถ้ำจากผนังเขา ไม่ใช่ถ้ำที่อยู่ติดดิน พอนานปีก็มักมีดินพอกพูนจนพื้นถ้ำตื้นเขินทำให้ถ้ำมีขนาดเล็กลง
“ดงคสิริ” หรือตุงคสิริ หรือทุกรกิริยาบรรพต สถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คำว่าบำเพ็ญทุกรกิริยา แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า “การกระทำที่ทำได้ยาก” ที่เน้นไปทางการทรมานร่างกายเสียส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ห่างจากพระมหาเจดีย์พุทธคยาหรือพระมหาโพธิเจดีย์ ไปประมาณ ๑๖ กิโลเมตร อยู่ระหว่างหลักไมล์ที่ ๔ จากเมืองคยา ต้องข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปไกลพอสมควร ปัจจุบันอยู่ในตำบลพุทธคยา อำเภอคยา จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย







Cr.พระสนิทวงศ์ วุฒิวํโส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น